วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อานิสงค์ของการให้ธรรมะเป็นธรรมทาน

ถวายหนังสือธรรมะเพียงเล่มเดียว เท่ากับสร้างพระหลายหมื่นองค์

สร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว มีอานิสงส์เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ 
ถวายหนังสือธรรมะเพียงเล่มเดียว เท่ากับได้สร้างพระพุทธรูปหลายพันหลายหมื่นองค์ 
ได้บุญกุศลมากกว่าการถวายของกินของใช้ ยิ่งถวายธรรมทานมาก อานิสงส์ก็ยิ่งมหาศาล
แปลงทรัพย์เป็นบุญ... สาธุ

ชีวิตเราไม่ได้จบลงในชาตินี้ชาติเดียว ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพหน้า ทรัพย์ภายนอกที่มีอยู่ให้ความสุขได้แต่เพียงชาตินี้ชาติเดียว ไม่อาจติดตามไปในภพหน้าได้ แต่เราสามารถแปลงทรัพย์เหล่านี้ให้เป็นบุญไว้เป็นทุนในภพหน้าชาติหน้าได้

ทรัพย์เพียงน้อยนิด สามารถแปลงให้เป็นบุญมหาศาลได้ ทรัพย์มากหรือน้อย ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการแปลงทรัพย์ให้เป็นบุญ ทรัพย์น้อยนิดก็สามารถแปลงได้เป็นบุญมหาศาลได้ หากนำทรัพย์นั้นมาแปลงเป็นทุนถวายสังฆทานประเภทธรรมทาน คือ การถวายหนังสือธรรมะเป็นทาน
เคล็ดลับการเพิ่มพลังบุญ

วัตถุท่านต้องเป็นของบริสุทธิ์ คือ วัตถุทานที่ได้มาด้วยความสุจริตและมีประโยชน์ ให้แล้วสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

ผู้ถวายต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์ คือ มีความเต็มใจพอใจทั้งขณะให้ กำลังให้ แม้ให้แล้วก็มีใจยินดี
ต้องถวายแก่คนดี มีศีลธรรม คือ ถวายเป็นของส่วนรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์หรือชุมชน เป็นของสาธารณะ 

ฉะนั้น การถวายทานในวันนี้เป็นมหากุศลอย่างยิ่ง ซึงพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า สพฺพ ทานํ ธมฺม ทานํ ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
โดย   ขอมูลมาจากเพจของกลุ่มลูกศิษท์ หลวงพ่อจรัญฯ
……………………………………………………………………………………………………………………..
เป็นเหตุแห่งโภคทรัพย์ เป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองทั้งปวง
อานิสงส์แห่งมหาทานและธรรมทาน
1. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง
2. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์
3. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป
4. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน
5. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่
6. กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา
7. บุตรจะเฉลียวฉลาดและเจริญรุ่งเรือง
8. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข
9. พ่อแม่จะมีอายุยืน
10. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี
11. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุคติ
“””””””””””””””
อ้างอิงจากเพจ https://web.facebook.com/Dhammapamphlet/
………………………………………………………………………………………………………

ธรรมทาน เหนือการให้ทั้งปวง เพราะเป็นต้นกำเนิดของทาน และความดีทั้งปวง

...ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ใน อรรถกถาธรรมบท ว่า...

- แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุด แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้ ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า ด้วยพระคาถา(๒) เพียง ๔ บาท และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึงเศษส่วน ๑๖ แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา

- แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปร ด้วยสูปะพยัญชนะอันประณีต เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้า อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท

- อนึ่ง ทายกจะถวายเสนาสนะ มีมหาวิหาร หรือโลหปราสาทหลายแสนหลัง ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้า อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท

- การแสดงธรรม การบอกธรรม การฟังธรรม มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และประเสริฐกว่าจีวรทาน บิณฑบาตทาน เสนาสนทาน ทุกอย่าง เพราะว่าชนทั้งหลายจะทำบุญมากมายขนาด นั้นได้ ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรมแล้ว ถ้าไม่ได้ฟังธรรมมีศรัทธาแล้ว จะถวายข้าวสวยสักทัพพี ข้าวต้มสักกระบวยก็ยังยาก แม้บุคคลสำเร็จมรรคผล จะสำเร็จอัครสาวกภูมิ ก็ต้องอาศัยการฟังธรรม

- อีกประการหนึ่ง ยกเว้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตร เป็นต้น ผู้เป็นเลิศด้วยปัญญาญาณ สามารถนับเม็ดฝนที่ตกอยู่ตลอดกัปได้ ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุอริยผล มีโสดาปัตติผล เป็นต้น โดยลำพังตนเองได้ ต่อเมื่อได้ฟังธรรม จากพระอัสสชิเป็นต้นแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และบรรลุธรรมสูงสุด ด้วยพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา เพราะเหตุนี้ "ธรรมทานจึงประเสริฐที่สุด" ดังเรื่องปัญหาของท้าวสักกเทวราช (๓)

ในสมัยหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยเทวดาหมื่นจักรวาลมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงน้อมนมัสการทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"การให้อะไร ชนะการให้ทั้งปวง รสแห่งอะไร ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในอะไร ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งอะไร ชนะทุกข์ทั้งปวง"

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย
อ้างอิง
๑) ธรรมบท ขุททกนิกาย พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๔๓ หน้า ๓๒๕
๒)คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง
๓) ธรรมบท ขุททกนิกาย พระสูตรและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๔๓ หน้า ๓๒๓
…………………………………………………………………………………………………………………
ตอบปัญหาทานกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทานบ้างครับ ?
เรื่องของ "ทาน" ตั้งแต่ตอนนี้ไป จะรวบรวมปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง"ทาน" ซึ่งมีผู้เรียนถาม ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อพระมหาวีระถาวโร ) แห่งวัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี มาเสนอการตอบของหลวงพ่อพระมหาวีระ ท่านจะตอบด้วยถ้อยคำ สำนวนแบบชาวบ้าน เข้าใจง่ายๆ...เชิญติดตามได้เลยครับ

ผู้ถาม "หลวงพ่อครับ กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทานบ้างครับ ?"


หลวงพ่อ "สัพพะ ทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ......การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง ให้ธรรมทานซีคุณ หนังสือเรียนของเด็ก หนังสือเรียนของผู้ใหญ่หนังสือเรียนของพระหนังสือธรรมะต่างๆ ดูตัวอย่างพระสารีบุตร ให้ปัญญากับประชาชนทั้งหลาย เพราะอานิสงส์ได้เคยสร้างพระธรรม ซึ่งเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์ถวายพระพุทธเจ้า เกิดมาชาติหลังสุด จึงทำให้เป็นพระที่มีปัญญามาก อย่างเงินที่เขาถวายฉันไว้นี่ พอกลับไปถึงวัดก็เรียบร้อย เลี้ยงอาหารพระบ้าง ค่ากระแสไฟฟ้าบ้าง ค่าก่อสร้างบ้าง รวมความว่า ที่ท่านตั้งใจนี่มีผล ๔ อย่าง
๑. สร้างพระพุทธรูป
๒. วิหารทาน
๓. สังฆทาน
๔. ธรรมทาน

ทั้ง หมดนี้ ใช้ทุนไม่ต้องมากก็ได้ เอาสัก ๕๐ สตางค์ เป็นอันว่า การทำบุญเอาแค่พอสมควร แต่ให้มันเป็นบุญใหญ่ เขามุ่งแบบนั้นนะ คือเราเอาไปผสมกับเขาก็แล้วกันไม่ต้องสร้างทั้งหลัง"

ผู้ถาม "กระผม สงสัยเรื่องการทำบุญ บางคนก็ทำช้า บางคนก็ทำไว อยากเรียนถามหลวงพ่อว่า การทำบุญช้าบ้าง เร็วบ้าง ยืดยาดบ้าง อานิสงส์ จะต่างกันหรือไม่ขอรับ ?"

หลวงพ่อ "ต่าง กัน คือได้ช้า ได้เร็ว ต่างกันก็เหมือนท่าน จูเฬกสาฎก ท่านฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ตั้งใจถวายทานตั้งแต่ยามต้น และยามที่ ๒ จิตเป็นห่วงยายที่บ้าน ไม่มีโอกาสจะฟังเทศน์ เพราะไม่มีผ้าห่ม พอยามที่ ๓ ใกล้สว่าง จึงตัดสินใจถวาย แล้วประกาศว่า

"ชิ ตัง เม ชิตัง เม" พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยิน ก็ทราบว่า ชนะความตระหนี่ จึงนำผ้าสาฎก และทรัพย์สินต่างๆมาให้ มีฐานะเป็นคหบดีคนหนึ่งต่อมาพระพุทธเจ้าตรัสว่า "ถ้าพราหมณ์นี้ถวายในยามต้น จะได้เป็นมหาเศรษฐีถ้าถวายยามที่ ๒ จะได้เป็นอนุเศรษฐี ยามที่ ๓ จะได้เป็นคหบดีใหญ่ที่ได้น้อย เพราะถวายช้าเกินไป พระองค์จึงตรัสว่า การบำเพ็ญกุศลผล ความดีในศาสนาของเรานี้ จงอย่าให้เนิ่นช้า ต้อง ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง คือเร็วๆ ไวๆ"

โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น